วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเข้าหัว RJ-45 แบบตรง และ แบบไขว้


การเข้าหัว RJ- 45 แบบ (ตรง) และ แบบ (ไขว้)



ขั้นตอนการเข้าหัว RJ-45

แบบต่อตรง (Straigh thruogh)  มีดังนี้






1.เตรียมอุปกรณ์สำหรับเข้าสาย ได้แก่ คีมตัดสาย/กรรไกรตัด สาย มีดปอกสาย และคีมสำหรับเข้าหัว RJ-45







2. ปอกสายพลาสติกด้านนอกออกมา ระยะพอประมาณ  ระวังอย่าให้โดนสายทองแดงด้านใน







3. เรียงสายให้ตรงตามมาตรฐานการ จัดเรียงสีดังนี้ ขาวส้ม-ส้ม,ขาวเขียว-น้ำเงิน ,ขาวน้ำเงิน-เขียว ,ขาวน้ำตาล-น้ำตาล ให้ตรงแล้วตัดปลายให้เสมอกัน







4 .หลังจากใช้กรรไกรตัดสาย หรือ คีมตัดสาย ตัด  ปลายสาย ให้พอดีเสมอกันแล้วใส่เข้าไปในหัว RJ-45











5.ดันสายเข้าไปให้สุดของหัว RJ-45






6. ใช้คีมสำหรับเข้า หัว RJ-45 ทำการ ย้ำสายให้แน่นเพื่อทำการกดเข็มทองแดง และล๊อคสายไมให้หลุด










ขั้นตอนการเข้าหัว RJ-45


แบบ  Cross over (ไขว้)  มีดังนี้




1.เตรียมอุปกรณ์สำหรับเข้าสาย ได้แก่ คีมตัดสาย/กรรไกรตัด สาย มีดปอกสาย และคีมสำหรับเข้าหัว RJ-45







2. ปอกสายพลาสติกด้านนอกออกมา ระยะพอประมาณ  ระวังอย่าให้โดนสายทองแดงด้านใน












3. เรียงสายให้ตรงตามมาตรฐานการ จัดเรียงสีดังนี้ ขาวเขียว-เขียว, ขาวส้ม-น้ำเงิน,ขาวน้ำเงิน-ส้ม ,ขาวน้ำตาล-น้ำตาล ให้ตรงแล้วตัดปลายให้เสมอกัน












4 .หลังจากใช้กรรไกรตัดสาย หรือ คีมตัดสาย ตัด  ปลายสาย ให้พอดีเสมอกันแล้วใส่เข้าไปในหัว RJ-45















5.ดันสายเข้าไปให้สุดของหัว RJ-45








6. ใช้คีมสำหรับเข้า หัว RJ-45 ทำการ ย้ำสายให้แน่นเพื่อทำการกดเข็มทองแดง และล๊อคสายไมให้หลุด







วีดีโอ การเข้าหัว RJ-45 

แบบตรง(  Straigh thruogh )และ แบบไขว้ (cross over)







วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Topology





รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้




โทโปโลยีแบบบัส (Bus)



BUS คืออุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า "บัส"   เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ




โทโปโลยีรูปวงแหวน (Ring)





Ring เป็นการสื่อสารที่ส่งผ่านไปในเครือข่าย ข้อมูลข่าวสารจะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปในทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน หรือ RING นั่นเอง โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์






โทโปโลยีรูปดาว (Star)






Star เป็นหลักการส่งและรับข้อมูลเหมือนกับระบบโทรศัพท์ การควบคุมจะทำโดยสถานีศูนย์กลาง ทำหน้าที่เป็นตัวสวิตชิ่ง ข้อมูลทั้งหมดในระบบเครือข่ายจะต้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง (Center Comtuper)





โทโปโลยีแบบ Hybrid






Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN 





ฮาร์ดแวร์ เครือข่าย



ฮาร์ดแวร์ เครือข่าย







    


















สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัย แรก ๆ  แต่ในปัจจุบันสายโคแอ็กซ์ ถือได้ว่าเป็นสายที่ล้าสมัยสำหรับ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันยังมีระบบ เครือข่ายบางประเภทที่ยังใช้สายประเภทนี้อยู่




  



สายเคเบิล  คือสายสัญญาณที่นำมาใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และทรัพยากรอื่นๆในเครือข่าย สายเคเบิลที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายแบบด้วยกัน แต่ละแบบก็มีความเร็วในการรับส่งข้อมูล และราคาแตกต่างกันไป





 













สวิตช์ (Switch) จะมีความสามารถในการทำงานมากกว่า Hub โดยที่อุปกรณ์ Switch จะทำงานในการ รับ-ส่งข้อมูล ที่สามารถส่งข้อมูลจากพอร์ตหนึ่งของอุปกรณ์ ไปยังเฉพาะพอร์ตปลายทางที่เชื่อมต่ออยู่กับอุปกรณ์



  


รีพีตเตอร์ (Repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนตัวกลางนำสัญญาณจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง เช่น จากไฟเบอร์ออฟติกมายังโคแอกเชียล





       




















เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงสุด ในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆเข้าด้วยกัน โดยไม่มีขีดจำกัด ทั้งระหว่างเครือข่ายต่าง







     





















เราเตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน เราเตอร์สามารถทำหน้าที่จัดหาเส้นทางและเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการเดินทาง เพื่อการติดต่อระหว่างเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    





















บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลนเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของLAN ออกไปได้เรื่อยๆ






 ฮับ (Hub) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายเคเบิลในเครือข่ายลักษณะเป็นช่องเสียบสายเคเบิลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์กับเครื่องพีซีอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องไคลเอนต์





แลนการ์ด (Network Interface Card : NIC) อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมระหว่างคอมพิวเตอร์กับสายเคเบิลคือการ์ดเชื่อม ช่วยในการควบคุม การรับส่งข้อมูล และตรวจสอบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น

     









โมเด็ม โมเด็ม (Modem) ย่อมาจากคำว่า "Modulator/Demodulator" กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอนาล็อกเรียกว่ามอดูเลชั่น(Modulation) 





 


ประโยชน์ Network



ประโยชน์ Network





1. เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลทำได้ง่ายโดยผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถที่จะดึงข้อมูลจากส่วนกลางมาใช้ได้อย่าง รวดเร็วและง่ายดาย 









2. ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้  อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายนั้น ถือว่าเป็นทรัพยากรส่วนกลางที่ผู้ใช้ในเครือข่ายทุกคน สามารถใช้ได้ ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ด้วย













3. ใช้โปรแกรมร่วมกันผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถที่จะรันโปรแกรมจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง เช่น โปรแกรม Word, Excel, Power Point ได้





4. ทำงานประสานกันเป็นอย่างดี การจัดการงาน และข้อมูลทุกอย่างในองค์กร ทำงานประสานกัน เช่น การใช้เครือข่ายในการจัดการระบบงานขาย โดยให้เครื่องหนึ่งทำหน้าที่จัดการการเกี่ยวกับใบสั่งซื้อ อีกเครื่องหนึ่งจัดการกับระบบสินค้าคงคลัง เป็นต้น





5.ติดต่อสื่อสารสะดวก รวดเร็วเครือข่ายนับว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ได้เป็นอย่างดี ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล กับเพื่อนร่วมงานที่อยู่คนละที่ ได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว



วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประเภท Network

    

  ประเภท Network




  


 1.1 LAN (Local Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นเป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่  ในบริเวณที่ไม่กว้างนัก อาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกัน  หรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน เช่น  ภายในมหาวิทยาลัย  อาคารสำนักงาน



 



1.2 MAN (Metropolitan Area Network) :    ระบบเครือข่ายระดับเมืองเป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง Lan และ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น








1.3 WAN (Wide Area Network) :ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่าย บริเวณกว้างเป็นระบบเครือข่าย ที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลกเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน 


วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ความหมายของ Network



Network คืออะไร








Network คือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
1. LAN  (LocalAreaNetwork) เป็นกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในพื้นที่จำกัดเช่นภายในตึกสำนักงาน
2. MAN (MetropolitanAreaNetwork) เป็นการนำระบบLANหลายๆLANที่มีพื้นที่อยู่ใกล้เคียงกันมาเชื่อมต่อกันให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่นเชื่อมต่อกันในเมือง หรือในจังหวัด

3.    WAN (WideAreaNetwork) เป็นกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันแบบกว้างขวางอาจจะเป็นภายในประเทศหรือระหว่างประเทศ